Skip to main content

ติดตาม
My Self-Love Journey

เพื่อจะได้ไม่พลาดบทความการรักและพัฒนาตัวเองดี ๆ

    We won't send you spam. Unsubscribe at any time.

    5 วิธีสร้างกิจวัตรการดูแลตัวเองยังไงให้ได้ผล

    Photo by Maddi Bazzocco on Unsplash

    การดูแลตัวเองเป็นส่วนหนึ่งของการรักตัวเอง แต่ด้วยความยุ่งวุ่นวายในชีวิตประจำวันทำให้หลายคนละเลยการดูแลตัวเองส่งผลทำให้สุขภาพโดยรวมแย่ลง วันนี้เราจึงนำวิธีสร้างกิจวัตรการดูแลตัวเองมาฝากเพื่อน ๆ เพื่อที่เราจะสามารถมีเวลาให้กับการดูแลตัวเอง ลดความเครียด และมีความสุขกับการใช้ชีวิตได้มากขึ้นกันค่ะ

    1. ประเมินความต้องการของตัวเอง

    ก่อนที่เราจะเริ่มสร้างกิจวัตรการดูแลตัวเองให้ได้ผลนั้น เราต้องเริ่มจากการทบทวนการใช้ชีวิตและความต้องการของตัวเองก่อนว่ามีส่วนไหนที่เราต้องใส่ใจและพัฒนาให้ดีขึ้นบ้าง ไม่ว่าจะเป็นเรื่องงาน ความสัมพันธ์ หรือสุขภาพ เราอาจจะถามคำถามเหล่านี้กับตัวเอง เช่น เรานอนหลับพักผ่อนเพียงพอไหม ออกกำลังกายเป็นประจำหรือเปล่า จัดการกับความเครียดได้อย่างถูกวิธีไหม เวลาเศร้าเราดูแลตัวเองยังไง ตอนนี้เรากำลังอยู่ในความสัมพันธ์ที่ทำให้เราเป็นทุกข์หรือไม่ เป็นต้นค่ะ

    2. เขียนรายการสิ่งที่ทำแล้วมีความสุขออกมา

    กิจกรรมที่เราทำแล้วมีความสุขและทำให้เกิดความรู้สึกผ่อนคลาย ไม่ว่าจะเป็นงานอดิเรก การใช้เวลากับคนที่เรารัก อ่านหนังสือ ออกไปเดินเล่นข้างนอก นั่งสมาธิ ล้วนเป็นส่วนหนึ่งของการดูแลสภาพจิตใจของตัวเอง เราจึงควรให้ความสำคัญกับมันเช่นเดียวกับการนอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ และทานอาหารที่ดีต่อสุขภาพค่ะ

    3. ให้เวลากับการดูแลตัวเอง

    พยายามกำหนดเวลาและให้ความสำคัญกับการดูแลตัวเองในทุก ๆ วัน เช่น ปกติที่เราชอบตื่นสายและไม่ทานมื้อเช้าเลย เราก็อาจจะพยายามตื่นเช้าให้มากขึ้นเพื่อที่เราจะได้มีเวลาไว้ทานอาหารเช้า หรือเราอาจจะใช้เวลาสั้น ๆ ในช่วงเที่ยงงีบหลับเพื่อให้ร่างกายหายเหนื่อย และอาจจะให้เวลาตัวเองกับกิจกรรมที่ช่วยผ่อนคลายจิตใจ เช่น อ่านหนังสือ เขียนบันทึกประจำวัน นั่งสมาธิในช่วงเย็นหลังจากที่เราต้องเผชิญกับความวุ่นวายมาทั้งวัน เป็นต้นค่ะ

    4. เริ่มจากเป้าหมายเล็ก ๆ แต่สม่ำเสมอ

    อย่าพยายามทำทุกเป้าหมายพร้อมกัน แต่ให้เริ่มจาก 1 หรือ 2 เป้าหมายง่าย ๆ ที่เราสามารถทำได้อย่างสม่ำเสมอก่อนหรือจะเป็นเป้าหมายที่เราคิดว่าสำคัญกับเราที่สุดในตอนนี้ เช่น เราอาจจะเลือกปรับเวลานอนให้เหมาะสมถ้าหากเราไม่มีตารางการนอนที่ชัดเจนจนทำให้รู้สึกอ่อนเพลียอยู่บ่อย ๆ เป็นต้น ความสม่ำเสมอคือกุญแจสำคัญที่ทำให้กิจวัตรการดูแลตัวเองมีประสิทธิภาพ และการตั้งเป้าหมายที่เกินจริงสามารถทำให้เรารู้สึกอยากยอมแพ้กับกิจวัตรการดูแลตัวเองที่เราพยายามสร้างขึ้นมาได้ค่ะ

    5. มีความยืดหยุ่นและรู้จักปรับเปลี่ยนอยู่ตลอดเวลา

    ชีวิตคือความไม่แน่นอนและเราไม่สามารถคาดเดาได้ สิ่งที่ทำแล้วได้ผลในตอนนี้อาจจะไม่ได้ผลเสมอไป เราจึงควรลองทำกิจกรรมใหม่ ๆ ที่ดีต่อตัวเราเองบ้าง และอาจจะมีบางช่วงที่เราต้องเผชิญกับอะไรหลายอย่างจนทำให้เราไม่มีเวลาดูแลตัวเอง เราจึงต้องเรียนรู้ที่จะใจดีกับตัวเองและปรับเปลี่ยนให้เหมาะสมกับสถานการณ์ ไม่โทษตัวเองถ้าหากไม่สามารถทำตามเป้าหมายทั้งหมดที่ตั้งไว้ให้กับตัวเองได้ตลอดเวลา สิ่งสำคัญคือความก้าวหน้าไม่ใช่ความสมบูรณ์แบบค่ะ

    การดูแลตัวเองไม่ใช่การเห็นแก่ตัว แต่เป็นการที่เรารักและให้เวลาตัวเองได้ชาร์จพลังเพื่อให้เราสามารถทำในสิ่งที่ต้องทำได้ดีที่สุด เป็นการลงทุนที่มีค่าต่อความเป็นอยู่และความสุขของตัวเราเอง และกิจวัตรการดูแลตัวเองนี้ย่อมแตกต่างกันไปในแต่ละบุคคล บางสิ่งอาจได้ผลกับคนอื่นแต่ไม่เหมาะสมหรือตรงกับสิ่งที่เราต้องการ เราจึงต้องหมั่นทบทวนตัวเองและลองทำสิ่งใหม่ ๆ ปรับเปลี่ยนกิจวัตรให้เหมาะสมกับสถานการณ์ของตัวเอง และอย่าให้ความสมบูรณ์แบบมาทำให้เพื่อน ๆ อยากยอมแพ้กับการดูแลตัวเอง เพราะสิ่งที่สำคัญที่สุดคือความก้าวหน้าและการที่เราได้พยายามให้ความสำคัญกับมันในทุก ๆ วันค่ะ

    ⭐ บทความอื่น ๆ ที่ไม่ควรพลาด

    ดูแลตัวเอง รักตัวเอง

    Popular posts from this blog

    10 วิธีเลิกนิสัยชอบวิจารณ์ตัวเอง

    Photo by Sixteen Miles Out on Unsplash เราต่างเคยทุกข์ใจและไม่ชอบเมื่อโดนคนอื่นวิจารณ์อยู่บ่อย ๆ แต่บางครั้งก็เป็นตัวเราเองที่ชอบวิจารณ์ตัวเอง เราตั้งความคาดหวังที่สูงส่งให้กับตัวเอง และเราตำหนิตัวเองเมื่อต้องเผชิญกับความล้มเหลวหรือความผิดพลาดที่บางครั้งอาจจะเป็นแค่เรื่องเล็ก ๆ หรือเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถควบคุมได้ พฤติกรรมเหล่านี้ล้วนส่งผลต่อสภาพจิตใจของเรา ทำให้เรามองตัวเองในแง่ลบจนเกิดความรู้สึกด้อยค่า วันนี้เราจึงอยากจะพาทุกคนไปรักตัวเองและปล่อยวางนิสัยชอบวิจารณ์ตัวเองด้วยวิธีเหล่านี้กันค่ะ 1. ใจดีกับตัวเองให้มาก ๆ แทนที่จะตำหนิและตัดสินตัวเองในแง่ลบเมื่อทำผิดพลาดหรือเผชิญกับความล้มเหลว เราสามารถเลือกปฏิบัติต่อตัวเองด้วยความรักและความอ่อนโยนได้ ซึ่งการที่เราใจดีกับตัวเองนี้ไม่ได้หมายความว่าเราจะเมินเฉยต่อการกระทำของเราหรือความผิดพลาดเหล่านั้น แต่เป็นการที่เราเลือกที่จะรับผิดชอบโดยรับรู้ เรียนรู้จากมัน และนำบทเรียนที่ได้มาใช้พัฒนาตัวเอง อย่าลืมให้กำลังใจตัวเอง เข้าใจความเป็นมนุษย์และความไม่สมบูรณ์แบบของตัวเองแทนการดูถูกตัวเองจนทำให้เกิดความรู้สึกไร้ค่ากันนะคะ 2. พยายามพูดกับตัวเองใน...

    อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด เขียนโดย ดร. หลิวเพ่ยเซวียน

    📘 หนังสือ: อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด เขียนโดย ดร. หลิวเพ่ยเซวียน เคยไหมพยายามวิ่งหนีอารมณ์ความรู้สึกของตัวเองแต่กลับพบว่ามันไม่เคยจากเราไปไหนเลย ความเศร้าจากการถูกคนรักบอกเลิก ความโกรธจากการถูกหักหลัง ไม่ว่าจะผ่านไปนานสองเดือนหรือสองปี มันก็ยังสามารถกลับมาทำร้ายจิตใจของเราได้ซ้ำแล้วซ้ำเล่า  อย่าเก็บอารมณ์ไว้ให้ใจเจ็บปวด เป็นหนังสือที่เราได้อ่านในช่วงเวลาที่เราต้องเผชิญกับความเจ็บปวดในชีวิต เพราะหนังสือเล่มนี้เราจึงเข้าใจอารมณ์ของตัวเองและกล้าเผชิญกับมันมากขึ้น ซึ่งเป็นสิ่งสำคัญที่จะทำให้เราฟื้นตัวจากความเจ็บปวดได้ วันนี้เราจึงอยากนำสิ่งที่ได้เรียนรู้จากหนังสือเล่มนี้มาแบ่งปันให้กับเพื่อน ๆ กันค่ะ   1. เมื่อเรากลัวการเผชิญกับความรู้สึก เราจะไม่สามารถใช้ชีวิตในแบบที่เราต้องการได้ 2. ความเจ็บปวดที่เกิดขึ้นกับเราไม่ใช่ความผิดของเรา แต่การฟื้นตัวเป็นหน้าที่ของเราและไม่มีใครสามารถทำแทนเราได้ 3. การเฉยชาต่ออารมณ์ช่วยให้เราไม่ต้องรู้สึกถึงความเจ็บปวดได้ แต่ในเวลาเดียวกันมันก็ปิดกั้นความสวยงามของโลกใบนี้ด้วยเช่นกัน 4. การที่เราจะเข้าสู่โลกภายในจิตใจของตัวเราเองได้นั้น เราจะต...

    10 วิธีให้อภัยตัวเอง

    Photo by Carli Jeen on Unsplash เราต่างเคยตัดสินใจผิดพลาด ประสบความล้มเหลว ทำลายความรู้สึกของคนที่เรารัก และถึงแม้มันจะเกิดขึ้นมานานแล้ว ความรู้สึกที่ว่าเราเป็นคนไม่ดีเพราะเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นเหล่านั้นยังคงอยู่ ทำให้เราไม่สามารถก้าวเดินต่อไปได้ แต่อดีตเป็นสิ่งที่ไม่สามารถแก้ไขได้ การที่เราลงโทษตัวเองด้วยความรู้สึกผิดไปเรื่อย ๆ ไม่สามารถทำให้เราใช้ชีวิตได้อย่างมีความสุข วันนี้เราจึงนำวิธีให้อภัยตัวเองมาแชร์ให้กับเพื่อน ๆ กันค่ะ เพราะการให้อภัยตัวเองจะช่วยให้เราสามารถก้าวเดินต่อไปข้างหน้าได้โดยที่ไม่ต้องแบกความรู้สึกผิดไว้กับตัวเองอีกต่อไป 1. เรียนรู้จากความผิดพลาด พยายามทำความเข้าใจเหตุผลของการกระทำของเรา ทบทวนตัวเองว่าทำไมเราถึงทำผิดพลาดในตอนนั้น และมีอะไรที่เราสามารถแก้ไขได้หรือทำให้ดีกว่านี้ได้บ้าง และแทนที่จะโฟกัสกับเหตุการณ์แย่ ๆ ก็ให้โฟกัสกับสิ่งที่เราสามารถเรียนรู้ได้ นำประสบการณ์ที่ผ่านมาแล้วในอดีตมาเป็นบทเรียนให้เราพัฒนาตัวเองให้ดีขึ้นเพื่อไม่ให้ตัวเราต้องทำผิดพลาดแบบเดิมซ้ำอีก การให้ความสำคัญกับบทเรียนที่ได้แทนการจมปลักกับความรู้สึกแย่ ๆ จะทำให้เราเติบโตเป็นคนที่ดีขึ้นได้อย่า...